Tuesday, July 2, 2019

ประวัติรถไฟไทย

               ปีรัตนโกสินทรศก 105 ตรงกับปี พ.ศ. 2429  กิจการรถไฟได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก  เมื่อรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทาน แก่บริษัทชาวเดนมาร์กให้สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯถึงสมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร  หลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2433  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นสังกัดกระทรวงโยธาธิการ  ครั้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439   พระองค์จึงเสด็จทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ  - อยุธยา  ระยะทาง 71 กิโลเมตร  ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ความกว้างของรางเมื่อแรกสร้างทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นรางกว้าง  1.435 เมตร ระยะทางทั้งหมด  1,076 กิโลเมตร ส่วนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเป็น รางกว้าง 1.00 เมตร  ที่สร้างเป็นรางขนาด 1.00 เมตรก็เพื่อให้มีขนาดเท่ากับ ของประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย คือ มาเลเซีย พม่า เขมร  ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้เปลี่ยนราง ขนาด 1.435 เมตร ทางฝั่งตะวันออก ที่สร้างไปแล้วทั้งหมดเป็นขนาด 1.00 เมตร   โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 10 ปี   แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2469  

                   ในปี พ.ศ. 2471 ได้นำหัวรถจักรดีเซลรุ่นแรก ยี่ห้อ S.L.M. Winterthur รุ่น 21 - 22 จำนวน 2 คัน จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์มาใช้งาน โดยใช้เป็นรถจักรลากจูงสับเปลี่ยนทำขบวนรถไฟและลากจูงขบวนรถท้องถิ่นรอบ ๆ กรุงเทพฯ  (ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียอาคเนย์ที่นำรถจักรดีเซลมาใช้งาน)และต่อมาในปี 2504 ได้เริ่มโครงการ Dieselization โดยทยอยจัดหารถจักรดีเซล มาใช้แทนรถจักรไอน้ำซึ่งใช้เวลา 14 ปี จึงแล้วเสร็จในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนักทรัพย์สินทั้งทางอาคาร  และรถจักรล้อเลื่อน ได้รับความเสียหายมากจำต้องเร่งบูรณะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม โดยเร็วถ้าจะอาศัย เงินลงทุนจากงบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจาก ธนาคารโลกมาสมทบในระหว่างการเจรจากู้เงินนั้นธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุง  องค์กรของกรมรถไฟหลวงให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่    เพื่อให้เกิดความคล่องตัวใน การ  บริหารกิจการในเชิงธุรกิจกรมรถไฟหลวง    จึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภท สาธารณูปการ  ภายใต้ชื่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.  2494 เป็นต้นมา  โดยดำเนินการอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ. 2494   ซึ่งในหลักการรัฐคุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหาร  คุมอัตราเงินเดือนพนักงาน   คุมอัตราค่าโดยสาร   และค่าระวาง   คุมการปิดเปิดเส้นทางและการบริการ  และคุมการลงทุนทั้งหมด  แต่หากดำเนินงานขาดทุนรัฐจะชดเชยให้เท่าจำนวนที่ขาด
กลับไปที่หน้าแรก

No comments:

Post a Comment